รวบรวมเกร็ดความรู้สำหรับลูกน้อย

วันเสาร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2560

ผักและผลไม้ เพิ่มน้ำนมแม่

ผักผลไม้เพิ่มน้ำนมแม่ 20 ชนิด 


คุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูกน้อยหลายๆท่าน อาจจะมีความกังวลว่าตนเองจะมีน้ำนมเพียงพอ กับความต้องการของลูกน้อย และเพียงพอต่อความจำเป็นในการได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์เพื่อให้ลูกน้อยเติบโตขึ้นมาด้วยสุขภาพที่แข็งแรงหรือไม่ วิธี เพิ่มน้ำนม 
ด้วยสุดยอด 20 ผักผลไม้ มีอะไรกันบ้าง มาอ่านไปด้วยกันค่ะ


1.หัวปลี มีเส้นใยอาหาร แคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินซี ช่วยบำรุงน้ำนมของแม่ลูกอ่อนได้เป็นอย่างดี
ผักผลไม้เพิ่มน้ำนม
                               


2.ขิง มีวิตามิน และแร่ธาตุ ช่วยลดอาการท้องอืด บรรเทาไมเกรน ป้องกันมะเร็ง ผลใช้บำรุงน้ำนมของแม่ได้
ผักผลไม้เพิ่มน้ำนม
                                   


3.มะละกอ ใช้เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ ป้องกันโรคนิ่ว บำรุงผิว และช่วยกระตุ้นให้น้ำนมแม่มากขึ้น

ผักผลไม้เพิ่มน้ำนม
                                 

4.กุยช่าย มีวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา และการมองเห็น แกงเลียงกุยช่ายเป็นอาหารบำรุงน้ำนมแม่ลูกอ่อน
ผักผลไม้เพิ่มน้ำนม
                                     

5.ผักชีลาว ช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ลดความดันโลหิต ช่วยเพิ่มน้ำนมคุณแม่ที่พึ่งคลอดลูกได้
ผักผลไม้เพิ่มน้ำนม
                                



6.ฟักทอง อุดมไปด้วยวิตามิน เอ ฟอสฟอรัส เบต้าแคโรทีน ช่วยเพิ่มน้ำนมให้คุณแม่หลังคลอดผักผลไม้เพิ่มน้ำนม
                        



7.เมล็ดขนุนต้มสุก มีโปรตีน เกลือแร่ และวิตามิน รักษาแผลในกระเพาะ ช่วยขับน้ำนม และเพิ่มน้ำนมแม่
ผักผลไม้เพิ่มน้ำนม
                                  


8.ผักคะน้า มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ สร้างภูมิต้านทานให้ร่างกาย มีธาตุเหล็ก ช่วยสร้างน้ำนม
ผักผลไม้เพิ่มน้ำนม
                             
    


9.ผักโขม มีโปรตีนสูง วิตามิน และแร่ธาตุต่างๆ ช่วยป้องกันมะเร็งเต้านม ช่วยขับน้ำนมคุณแม่ที่ให้นมลูก
                               


10.แครอท อุดมไปด้วยวิตามิน ช่วยบำรุงสายตา บำรุงผิว เพิ่มคุณภาพน้ำนม น้ำแครอทช่วยบำรุงนมแม่
                                

11.ยี่หร่า มีวิตามิน ช่วยลดอาการจุดเสียด รักษาอาการเจ็บป่วย 
ขจัดสารพิษในร่างกาย ช่วยเพิ่มน้ำนมแม่

                                             


12.ลูกซัด ช่วยลดเบาหวาน มีสารตั้งต้นของฮอร์โมนที่ผลิตนมเพิ่มขึ้น เพิ่มนมแม่ภายใน 24 – 72 ชั่วโมงผักผลไม้เพิ่มน้ำนม
                   

                            
13.ใบกะเพรา ช่วยลดอาการหวัด บำรุงธาตุไฟ แก้คลื่นไส้อาเจียน ช่วยเพิ่มนมแม่หลังคลอดลูก
                             



14.กระเทียม ช่วยบำรุงผิว สร้างการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อ ช่วยเพิ่มการผลิตน้ำนมของคุณแม่
                              


15.หน่อไม้ฝรั่ง มีสารโฟเลต ช่วยลดความเสี่ยงความพิการ ช่วยให้ทารกในครรภ์แข็งแรง และเพิ่มน้ำนมแม่
                                 


16.มันเทศ ช่วยลดไขมันในเลือด แก้กระหาย แก้เมาคลื่น ยอดอ่อนสามารถบำรุงน้ำนมแม่ได้
                                


17.ผักชีฝรั่ง ต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยทดแทนการเสียธาตุเหล็ก โดยเฉพาะคุณแม่ที่ต้องให้นมลูก
                                 

18.ตำลึง ช่วยบำรุงเลือด กระดูก สายตา เส้นผม ระบบประสาท และช่วยบำรุงน้ำนมแม่ด้วย
                                      


19.ใบแมงลัก มีธาตุเหล็ก แคลเซียม และวิตามิน ช่วยขับลม ขับเหงื่อ และทำให้น้ำนมไหลได้ดี
                                   



20.มะรุม มีวิตามิน และโปรตีนสูง มีแคลเซียมช่วยเสริมกระดูกของแม่ ใบและดอกช่วยในการขับน้ำนม

                                     


ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก สมุนไพรไทย

วันพุธที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2560

ภาวะตัวเหลืองในเด็กแรกเกิด

ภาวะตัวเหลืองในเด็กแรกเกิด

สำหรับคุณแม่มือใหม่ เวลาที่คุณหมอบอกว่าลูกเรามี "ภาวะตัวเหลือง" คงตกใจกันไม่น้อย ... ลองไปทำความเข้าใจอาการภาวะตัวเหลืองในเด็ก จากคุณหมอ โรงพยาบาลกรุงเทพกันค่ะ ว่าอาการนี้มีอันตรายกับลูกเรามากน้อยเพียงใด

ขอบคุณข้อมูลที่คุณหมอนำมาเผยแพร่
เครดิตวีดีโอ :   Sutheera Uerpairojkit

เคล็ดลับ! บรรเทาอาการเจ็บหัวนม และ เจ็บเต้านม ของคุณแม่

เคล็ดลับ!ที่ช่วยบรรเทาอาการเจ็บหัวนม 
และ เจ็บเต้านม ของคุณแม่ได้


คุณแม่ทุกคนที่ให้นมลูกจะมีปัญหาเรื่องการ เจ็บหัวนม หรือ เจ็บเต้านม ถ้ามีอาการปวดมาก ๆ ลองมาดูเคล็ดลับเพื่อลดอาการปวดหัวนมของคุณแม่ ดังนี้ค่ะ

1. ลดการดูดบ้าง ในบางเวลา

ควรให้ลูกลดการดูดเต้าลงบ้างเมื่อมีอาการเจ็บเต้านม หรือให้พักการดูดข้างที่มีอาการเจ็บไปก่อน พออาการดีขึ้นแล้วค่อยให้ดูดใหม่ก็ช่วยได้ค่ะ

2. ให้ลูกดูดนมให้ไหล

ถ้ามีอาการปวดเต้านมหรือหัวนม คุณแม่จะไม่ค่อยอยากให้นมลูกมากนัก เพราะกลัวปวด แต่ถ้าลูกได้ดูดจนน้ำนมไหล อาการปวดเหล่านี้จะบรรเทาลง ยิ่งน้ำนมไหลดีขึ้น อาการปวดก็จะค่อย ๆ ลดลงค่ะ

3. กระตุ้นเต้านม หรือ บีบนวดหน้าอกก่อนให้นมลูก

เพื่อเป็นการกระตุ้นให้น้ำนมไหลได้ดี เพื่อช่วยลดอาการปวดเต้านม ถึงคุณแม่จะมีอาการปวดเต้านมหรือไม่ปวดก่อนการให้นมลูกก็ต้องมีการนวดหรือคลึงเต้านมก่อนจะดีที่สุดค่ะ เพื่อให้ระบบเลือดหมุนเวียนได้ดีค่ะ

4. ให้ลูกดูดนมบ่อย ๆ

หากทำได้ควรให้ลูกดูดนมทุก 2 ชั่วโมง หรือ ให้ดูดถี่กว่านั้นก็ได้ถ้าคุณแม่สะดวก การให้ลูกดูดนมบ่อย ๆ ช่วยลดอาการหย่อนยานของเต้านม และไม่ทำให้เต้านมคัด จนปวดทรมาน เพราะน้ำนมไหลดีเรื่อย ๆ นั่นเองค่ะ

5. อย่าปล่อยให้หัวนมของคุณแห้งระหว่างให้นม

เมื่อลูกหยุดดูดนมหรืออิ่มแล้วไม่ต้องเช็ดให้แห้ง ควรมีน้ำนมซัก 1-2 หยด ทาหัวนมไว้ให้ชุ่ม เพื่อลดอาการแตกของหัวนม เพราะน้ำนมจะทำให้แผลที่หัวนมหายเร็วขึ้นค่ะ

6. สามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อลดอาการแห้งตึงของหัวนมได้

เลือกผลิตภัณฑ์ที่เป็นธรรมชาติ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น และอย่าลืมเช็ดออกทุกครั้งเมื่อให้นมลูก หลังให้นมลูกเสร็จก็ทาใหม่ เพื่อลดอาการเจ็บตึงค่ะ

7. สวมเสื้อชั้นในแบบสบาย ๆ

สวมชุดชั้นในแบบผ้าฝ้าย เพื่อลดอาการเจ็บปวดของหัวนม หลีกเลี่ยงการใส่ชั้นในที่ต้องยกทรงสูง เพื่อลดการกดทับและเบียดกันของเต้านมค่ะ

8. ใส่ที่ครอบหัวนมเวลาให้นมลูก

คุณแม่ที่น้ำนมไหลดี ๆ แต่มีอาการปวดเต้านมจนบรรเทาไม่อยู่ สามารถใช้ที่ครอบหัวนม ซึ่งมีทั้งแบบยาง แบบซิลิโคนนุ่ม ยืดหยุ่นดี และยังสามารถให้นมลูกได้อีกด้วย ในตอนแรก ๆ ที่คุณแม่เริ่มใช้อาจรำคาญหรือไม่ถนัด แต่ถ้าทำไปเรื่อย ๆ ก็จะชินและใช้งานได้ดีค่ะ

ส่วนมากคุณแม่ที่มีอาการเจ็บหัวนม จะเกิดจากการที่ลูกกัดหัวนม ลูกจะเริ่มกัดหัวนมคุณแม่ตอนที่ฟันเริ่มขึ้น และลูกจะรู้สึกหมั่นเขี้ยว จึงหาอะไรกัดเพื่อบรรเทาอาการคันเหงือก ซึ่งคุณแม่ที่มีลูก วัยกำลังฟันขึ้นแนะนำให้หาวิธีป้องกันไว้ก่อนที่ลูกจะกัดหัวนมจนหัวนมแตก เพราะอาการเจ็บหัวนมจะเป็นนาน และทำให้คุณแม่ไม่อยากให้นมลูกเพราะความเจ็บปวดค่ะ

วันจันทร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2560

วิธีการ เช็ดตัวลดไข้ ให้ลูกน้อย อย่างถูกวิธีและเข้าใจง่าย

วิธีการ เช็ดตัวลดไข้ ให้ลูก อย่างถูกวิธีและเข้าใจง่าย
( จากสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี )

เทคนิค การเช็ดตัวลดไข้ ให้ลูก

1. ใช้น้ำอุ่นหรือน้ำที่อุณหภูมิปกติ ไม่ใช้น้ำร้อน

2. ปิดแอร์ หรือพัดลมให้หมด ลูกจะได้ไม่หนาวนะคะ

3. ถอดเสื้อผ้าลูกออกให้หมดค่ะ จะได้เช็ดได้ทุกซอกทุกมุม โดยเฉพาะตามข้อพับต่างๆ

4. ควรเช็ดย้อนรูขุมขน เช่นจากปลายมือปลายเท้า เข้าหาลำตัวค่ะ

5. ใช้ผ้า 2-3 ผืน ดีกว่าผืนเดียว จะได้เปลี่ยนได้บ่อยๆ โดยแนะนำให้เปลี่ยนผ้าชุบน้ำทุก 2-3 นาที

6. อย่าเช็ดนานเกินไปนะคะ เดี๋ยวลูกจะหนาว ประมาณ 10-15 นาทีก็พอค่ะ

7. หากเช็ดได้ดี ไข้จะลงภายใน 15 นาทีค่ะ ถ้ายังไม่ลงก็เช็ดซ้ำได้เลย

สำหรับเด็กเล็กที่ดิ้นเก่งๆ ควรมีผู้ช่วย ช่วยกันเช็ดอย่างน้อย 2 คนขึ้นไป จะได้เช็ดได้ทั่วถึงและมีประสิทธิภาพนะคะ

***หมายเหตุ : ขณะเช็ดตัวลดไข้ หากเด็กมีอาการเริ่มหนาวสั่น ให้หยุดเช็ดตัวทันที แล้วห่มด้วยผ้าห่มหรือผ้าขนหนูที่แห้ง จนกระทั่งหยุดสั่น ควรวัดอุณหภูมิของเด็กทุก 10 – 15 นา ที ถ้าเป็นปรอทธรรมดา วัดทางรักแร้ 5 นาที ขณะทำการเช็ดตัว ถ้าเป็นทารกและมีอุณหภูมิกายต่ำกว่า 36.7 องศาเซลเซียส ให้ทำการห่อตัว โดยเฉพาะส่วนศีรษะ ด้วยผ้าขนหนู เนื่องจากส่วนศีรษะมีพื้นที่ผิวกายคิดเป็นสัดส่วนถึง 30 เปอร์เซ็นต์ของร่างกาย ห่อตัวจนกระทั่งเด็กอุณหภูมิปกติหรือใกล้เคียงปกติ (ประมาณ 37.0 – 37.5 องศาเซลเซียส) จึงหยุดห่อ

ข้อแนะนำ

คุณพ่อคุณแม่ควรรีบพาลูกน้อยไปพบแพทย์ทันที ถ้าลูกมีไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียส โดย

เฉพาะลูกน้อยที่อายุต่ำกว่า 3 เดือน 

ส่วนในรายที่อายุเกิน 3 เดือน แล้วมีอาการซึม ไม่ยอมดูดนม 

ไม่รับประทานอาหาร ไม่เล่น มีท้องเสีย อาเจียนมากกว่า 3 ครั้ง ใน 6 ชั่วโมง ให้รีบพาไปพบ

แพทย์/ไปโรงพยาบาลทันที

แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่สังเกตดูแล้ว ลูกยังสามารถ เล่นได้ รับประทานอาหารได้ดี มีไข้ต่ำๆ อาจรอ

ดูอาการได้ แต่ถ้าภายใน 2-3 วันอาการไข้ยังไม่ทุเลา (หรือ 1-2 วันในเด็กอ่อน) ควรพาไปพบ

แพทย์ทันทีค่ะ เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย



วิธีเช็ดตัวลดไข้ลูกน้อย ด้วยน้ำมะนาวผสมน้ำอุ่น ที่ได้ผลดีชัดเจน

" การเช็ดตัวลดไข้ ด้วยน้ำอุ่นผสมมะนาว "





นางสาวชลิดา ภาวนาเกษมศานต์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ประจำโรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ นำเสนอผลงานวิจัยเรื่องประสิทธิภาพ น้ำอุ่นผสมมะนาวลดไข้ เพื่อการเช็ดตัวเด็กในโรงพยาบาลที่อายุต่ำกว่า 5 ขวบ ซึ่งการเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นผสมน้ำมะนาวช่วยลดอุณหภูมิร่างกายลง 1.2 องศา เช่น ถ้ามีไข้ 38.5 องศา หลังจากเช็ดตัวไข้จะลดลงเหลือ 37.3 องศา ในขณะที่ใช้น้ำอุ่นอย่างเดียว ลดได้ 0.67 องศาเท่านั้น ชี้ให้เห็นว่าน้ำอุ่นผสมน้ำมะนาวเช็ดตัวช่วยลดไข้ได้มากกว่าน้ำอุ่นอย่างเดียวถึง 2 เท่า

โดยวิธีการคือ เลือกมะนาวพันธุ์แป้นเขียว 1 ผล ผสมน้ำอุ่น 38 องศา ประมาณ 2,000 ซีซี การผ่ามะนาวต้องผ่าใต้น้ำ และบีบใต้น้ำ เพื่อให้ได้น้ำมันจากผิวด้วย กลิ่นของผิวมะนาวจัดเป็นอโรมา เทอราปี น้ำมันผิวมะนาวนำมาผสมน้ำและพันเท้าและขาเด็ก ช่วยลดไข้ได้ นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันอันตรายต่อสมองที่เกิดจากการชักเนื่องจากไข้สูงได้



หลังจากนั้นใช้ผ้าขนหนูจุ่มลงในน้ำอุ่นที่ผสมน้ำมะนาว บิดน้ำพอหมาด แล้วนำมาเช็ดตัวลูกน้อย โดยเช็ดเปิดรูขุมขน ด้วยการเช็ดเข้าสู่หัวใจ เช่น จากปลายเท้าเข้าหัวใจ เพื่อให้เลือดหมุนเวียน และลดไข้ได้เร็วขึ้น ระหว่างเช็ดตัวใช้ผ้าปิดร่างกายส่วนที่ยังไม่เช็ดเอาไว้ก่อน แล้วไล่เช็ดไปทีละส่วน เมื่อลูกตัวเย็นลงแล้วก็เช็ดตัวให้แห้ง จากนั้นจึงใส่เสื้อผ้าตามเดิม

การเช็ดตัวลดไข้ให้ลูกด้วยน้ำอุ่นผสมมะนาว สำหรับเด็กที่ผิวง่ายต่อการแพ้ระคายเคือง คุณแม่สามารถลดปริมาณน้ำมะนาวลงจาก 1 ลูกเป็นครึ่งลูกได้ แล้วเพิ่มปริมาณน้ำอุ่นให้มากขึ้นอีกนิด ซึ่งการเจือจางน้ำมะนาวให้มากกว่าปกติ จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดผื่นแพ้ได้ …ด้วยความใส่ใจและห่วงใยค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2560

คุณแม่แชร์ เตือนภัย อย่าปล่อยให้ใครมาจับ ดม หอมแก้มลูก ติดเชื้อ เสี่ยงถึงชีวิต!!


คุณแม่แชร์ เตือนภัย อย่าปล่อยให้ใครมาจับ     ดม หอมแก้มลูก ติดเชื้อ เสี่ยงถึงชีวิต!!





สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ทารกหรือเด็กเล็กที่น่ารัก น่าเอ็นดู มีอาการติดเชื้อ เกิดขึ้นได้แค่เพียงมีใครมาจุ๊บปาก หอมแก้ม สำนักข่าวออนไลน์บัซฟีด (BuzzFeed) รายงานว่า คุณแม่ชาวอังกฤษท่านหนึ่งได้โพสต์ข้อความและรูปภาพผ่านเฟซบุ๊กเตือนบรรดาคุณแม่มือใหม่ทั้งหลาย เธอเล่าว่า มีเพื่อนคนหนึ่งที่มีเชื้อไวรัส HSV-1 ต้นเหตุของโรคเริม มาจุ๊บลูกน้อยของเธอ ซึ่งมันไม่ได้แสดงอาการในทันที แต่ในคืนหนึ่งเธอสังเกตุว่า ลูกมีความผิดปกติ มีอาการบวมแดงที่ริมฝีปาก จึงรีบนำลูกไปโรงพยาบาลทันที แพทย์ระบุว่า โชคดีที่แม่พามาทันเวลาเพราะเด็กมีอาการที่น่าเป็นห่วง ซึ่งหากมาช้ากว่านี้เชื้อไวรัสตัวนี้อาจทำอันตรายกับปอด รวมถึงตับและสมองจนถึงขั้นเสียชีวิต โดย ดร. บอนนี่ มัลโดนาโด ผู้เชี่ยวชาญเรื่องโรคติดต่อแห่งมหาวิทยาลัยสแตมฟอร์ดกล่าวถึงกรณีนี้ว่า เป็นเคสที่พบได้ยากแต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็เป็นอันตรายอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

การให้ใครต่อใครได้มาหอมแก้ม จูจุ๊บเจ้าตัวน้อย ยังทำให้เด็กมีโอกาสติดเชื้อไวรัส RVS ซึ่งถึงแม้ว่าจะเป็นเชื้อหวัดทั่วไป แต่ก็ถือเป็นโรคที่น่ากลัวสำหรับเด็กเล็ก โดยเฉพาะอายุต่ำกว่า 3 ขวบ เพราะนอกจากจะมีอาการไอ น้ำมูกไหล มีเสมหะมาก ทำให้ปอดอักเสบ ทำให้เยื่อบุหลอดลม และทางเดินหายใจต่างๆ บวม ทำให้มีอาการเหนื่อยหอบและหายใจลำบาก จนต้องใส่ท่อช่วยหายใจ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เด็กเล็กเป็นง่ายก็เกิดจากการ “หอมแก้ม” จากผู้ใหญ่นั่นเอง

นอกจากนี้ยังมีโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น แบคทีเรียนิวโมคอคคัสชนิดรุนแรงและแพร่กระจายหรือโรคไอพีดี ที่เกิดจากการสัมผัส ไอ จาม ได้เช่น ซึ่งเด็กเล็ก ๆ อายุต่ำกว่า 2 ปี จะมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้ง่ายกว่าในเด็กในช่วงวัยอื่น


ทางที่ดีที่สุดในการป้องกันคือ ถ้าหากคุณแม่ยังไม่พร้อมให้ใครมาเยี่ยมในช่วงสัปดาห์แรก ๆ เพียงแค่บอกอย่างสุภาพว่าคุณและลูกต้องการพักผ่อนจริง ๆ และอยากจะให้มาเยี่ยมอีกครั้งในเวลาอื่น หรือช่วยขอให้แขกผู้มาเยี่ยมนั้นได้ล้างไม้ล้างมือให้สะอาด หรือวางน้ำยาล้างมือฆ่าเชื้อโรคไว้ใกล้ ๆ เพื่อจะได้ปลอดภัยต่อลูกตัวเล็ก ๆ ที่น่ารัก เพราะทารกยังมีระบบภูมิคุ้มกันที่ต่ำ ผิวหนังของทารกนั้นบอบบาง และไวต่อสิ่งสกปรกและเชื้อโรคยังไม่คุ้นเคย ดังนั้นถ้าคุณแม่จะหวงเจ้าตัวน้อยที่ยังคงเป็นเด็กเล็ก การบอกปฏิเสธการหอมแก้ม นั้นไม่ใช่เรื่องน่าอายเลยค่ะ แม้ทารกส่วนใหญ่จะไม่ได้มีความเสี่ยงเนื่องจากมีภูมิคุ้มกันจากแม่ก็ตาม

อ้างอิงข้อมูลจาก :

www.khaosod.co.th

วันศุกร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2560

อาบน้ำบนหน้าแข้ง แบบโบราณดีอย่างไร มาอ่านกันค่ะ

  • อาบน้ำบนหน้าแข้งเสริมพัฒนาการ


การอาบน้ำในสมัยก่อนไม่มีอุปกรณ์เหมือนสมัยนี้ การอาบน้ำบนหน้าแข้งจึงเป็นวิธีง่ายๆ ที่ทำกัน โดยคุณแม่วางเจ้าตัวน้อยไว้ที่หว่างขาที่เหยียดไปข้างหน้า หันหัวลูกไปทางปลายเท้า จากนั้นก็ลงมือบีบนวด ลูบไล้ ตามตัวลูก พร้อมๆ กับส่งสายตาให้กัน วิธีนี้คุณพ่อคุณแม่ลองทำตอนอาบน้ำก็ได้ค่ะ เพราะการสัมผัสจะทำให้เลือดลมไหลเวียนดี มีพัฒนาการทางกล้ามเนื้อที่แข็งแรง และเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้กับแม่ลูกด้วย

การดูแลตัวเองขณะตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก

การดูแลตัวเองขณะตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก




การดูแลตัวเองขณะตั้งครรภ์ 

  • สิ่งแรกที่ย้ำให้ต้องปฏิบัติคือ "เข้าฝากครรภ์ทันทีเมื่อทราบว่ามีการตั้งครรภ์"
  • ทานอาหารที่สดใหม่ครบ 5 หมู่ ลดปริมาณอาหารแต่เพิ่มมื้ออาหารบ่อยขึ้น อาจรับประทานน้ำหวานหรือผลไม้ระหว่างมื้ออาหาร น้ำผลไม้ช่วยให้ย่อยง่ายดูดซึมเร็ว ให้พลังงานและลดการอ่อนเพลียได้
  • พักผ่อนให้เพียงพอ หรืออาจจะมีช่วงเวลาในการนอนกลางวัน
  • ไม่ควรกลั้นปัสสาวะ เพราะจะเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ดังนั้นการเดินทางโดยรถประจำทางไกลๆ ควรหลีกเลี่ยงเพราะอาจจำเป็นต้องกลั้นปัสสาวะนานๆ
  • การเคลื่อนไหวต้องระมัดระวังเรื่องการโดนกระแทกบริเวณหน้าท้อง การหกล้มและการก้มยกของหนัก
  • ท่านั่ง ท่ายืน ท่านอน ที่เหมาะสม   

     ในช่วงไตรมาสแรกคุณแม่ต้องมีการดูแลเอาใจใส่อย่างละเอียดเพราะเป็นช่วงของการสร้างตัวของลูก หากคุณแม่มีการดูแลร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ รับประทานอาหารที่ครบถ้วนก็จะทำให้พัฒนาการของลูกในครรภ์แข็งแรงสมบูรณ์ไปด้วย

ติดตามเรื่องราวดีๆ ที่รวบรวมเกร็ดความรู้ ทั่วไปสำหรับแม่ๆ ได้ที่นี่ :)

เด็กท้องผูก

ท้องผูกในเด็ก 

เป็นปัญหาที่พบได้มาก แม้จะดูเหมือนไม่ร้ายแรง แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ควรมองข้าม เพราะหากปล่อยให้ลูกมีอาการท้องผูกนานๆ โดยไม่ทำการรักษา ก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของลูกทั้งทางร่างกายและจิตใจได้



ท้องผูกในเด็ก ไม่ใช่โรคที่ร้ายแรง เป็นเพียงอาการหนึ่งซึ่งเกิดจากพฤติกรรมเป็นส่วนใหญ่ พบว่า 95% ของอาการท้องผูกในเด็กเกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารและนิสัยในการขับถ่าย โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มีอาหารฟาสต์ฟู้ดมากมาย ทำให้เด็กรับประทานผักและผลไม้น้อยลง ร่วมกับดื่มน้ำน้อย ทำให้อุจจาระแข็ง ถ่ายแล้วเจ็บ เมื่อเจ็บก็ทำให้เด็กกลัวการขับถ่าย จึงกลั้นอุจจาระ ซึ่งถ้ากลั้นอุจจาระจนเป็นนิสัย อุจจาระอยู่ในร่างกายนานๆ ก็จะแข็งขึ้น ก้อนใหญ่ขึ้น จึงเกิดอาการท้องผูกตามมาในที่สุด
 
เด็กที่มีอาการท้องผูกมักมีอาการปวดท้องเป็นอาการนำ ซึ่งถ้าเป็นมากๆ ก็อาจทำให้มีอาการปวดท้องเหมือนเป็นโรคอื่นได้ เช่น เด็กบางรายที่มีอาการท้องผูกมากๆ อาจมีอาการปวดท้องมากจนเดินตัวงอเหมือนเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบ ดังนั้นเมื่อลูกบอกว่าปวดท้อง คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตว่าลูกมีอาการอื่น เช่น มีไข้ ซึ่งแสดงถึงภาวะติดเชื้อร่วมด้วยหรือไม่ เพราะโดยทั่วไปแล้วอาการปวดท้องจากท้องผูกมักไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย เมื่อได้ถ่ายก็จะหายปวดได้เอง
 
สำหรับเด็กที่มีอาการท้องผูกมากๆ มาเป็นเวลานานและปล่อยไว้โดยไม่ทำการรักษา อาจทำให้เกิดผลต่อสุขภาพทั้งร่างกาย จิตใจและอารมณ์ได้ คือ

  • ผลต่อพัฒนาการของร่างกาย เมื่อเด็กท้องผูกมากจะรับประทานอาหารไม่ค่อยได้ อาจส่งผลให้เด็กมีน้ำหนักตัวน้อย ตัวเล็ก และขาดสารอาหารได้

  • ผลทางด้านจิตใจและอารมณ์ ในเด็กบางรายที่ท้องผูกมานาน อาจมีอุจจาระเล็ดออกมาภายนอก ทำให้เปื้อนติดกางเกงและมีกลิ่นเหม็น ซึ่งอาจทำให้เด็กรู้สึกอายเพื่อนและรู้สึกมีปมด้อย หรือในกรณีของเด็กบางรายที่มีอาการปวดท้องแต่ไม่สามารถอธิบายอาการที่เป็นได้และคุณพ่อคุณแม่ก็ไม่เข้าใจ ก็อาจทำให้เด็กเกิดปัญหาทางอารมณ์ กลายเป็นเด็กหงุดหงิด ก้าวร้าวได้

 
ดังนั้น หากเด็กมีอาการท้องผูกมานานหรือปวดท้องไม่หาย คุณพ่อคุณแม่ควรพามาพบแพทย์ ซึ่งแพทย์จะทำการซักประวัติการรับประทานอาหาร ในกรณีที่จำเป็นอาจต้องทำการเอกซเรย์หรืออัลตราซาวนด์ร่วมด้วย เมื่อวินิจฉัยได้แน่ชัดแล้วว่าเป็นท้องผูก ก็อาจทำการสวนอุจจาระและแนะนำการปรับเปลี่ยนอาหารที่รับประทาน สำหรับรายที่มีอาการรุนแรงจนถึงจุดที่การปรับเปลี่ยนอาหารไม่สามารถทำให้อาการดีขึ้นได้ แพทย์อาจต้องให้ยาเพื่อทำให้อุจจาระนิ่มลง ซึ่งจะช่วยให้เด็กไม่มีความเจ็บปวดเวลาถ่าย หายกลัว และสามารถถ่ายแบบธรรมชาติได้ เมื่ออาการดีขึ้นแล้วจึงค่อยลดยาลง ทั้งนี้การรับประทานยาจำเป็นต้องทำร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทั้งการรับประทานอาหารและการฝึกขับถ่ายให้ตรงเวลาด้วย
 
อย่างไรก็ดี การป้องกันไม่ให้ลูกท้องผูกก็ยังคงเป็นวิธีการที่ดีที่สุด สามารถเริ่มได้จากการเลี้ยงดูของคุณพ่อคุณแม่ ซึ่งควรจะเริ่มตั้งแต่ลูกยังเล็ก คือ ในช่วงอายุก่อน 1 ขวบ โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้ดังนี้
  • เสริมผักและผลไม้ให้กับลูก ด้วยการทำซุปผักและน้ำผลไม้ให้ลูกรับประทาน ซึ่งจะช่วยให้ลูกขับถ่ายง่าย และยังเป็นผลดีให้การฝึกขับถ่ายทำได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการฝึกให้ลูกได้ชิมรสชาติและคุ้นเคยกับกลิ่นรสของผักและผลไม้ ไม่ต่อต้านการรับประทานอาหารเหล่านี้เมื่อโตขึ้น
  • ฝึกการขับถ่ายของลูกให้เป็นเวลา โดยสามารถเริ่มได้ตั้งแต่ในช่วง 2 ขวบปีแรก แต่การฝึกควรทำเมื่อลูกพร้อม ให้ลองสังเกตว่าลูกมีปัญหาเรื่องการขับถ่ายหรือไม่ เช่น อุจจาระแข็ง ชอบกลั้นอุจจาระ ชอบหนีไปซ่อนหรือร้องไห้ หากมีปัญหาเหล่านี้ ให้คุณพ่อคุณแม่ลองปรับเปลี่ยนอาหารที่ให้ลูกรับประทานก่อน โดยหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้อุจจาระแข็ง เช่น ข้าวกล้อง กล้วย ช็อกโกแลต ชีส เมื่อลูกถ่ายได้ดีแล้วและไม่ต่อต้าน จึงค่อยเริ่มฝึกการขับถ่ายให้กับลูกต่อไป
 
เรียบเรียงโดย นพ.มิ่งเมือง วรวัฒนะกุล กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินอาหาร ศูนย์กุมารเวช โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

อาการแพ้วัคซีนที่อันตรายถึงชีวิต


แพ้วัคซีน

อาการแพ้วัคซีนที่อันตรายถึงชีวิต และภาวะแทรกซ้อนหลังฉีดวัค
ีนที่คุณแม่ต้องคอยระวัง



จากข่าวเด็ก5เดือนเสียชีวิตโดยญาติระบุว่า"แพ้วัคซีนคุณแม่พาน้องไปฉีดวัคซีนที่สถานีอนามัย หลังกลับมาบ้านน้องก็มีอาการซึม ไม่ร้อง ไม่เล่น ไม่กินนม ซึ่งเป็นอาการแพ้ยานั่นเอง แต่เมื่อนำไปโรงพยบาลหาหมอ ก็สายเสียแล้วเนื่องจากมีอาการไตวาย "
จากข่าวเด็กวัย5เดือน หลังฉีดวัคซีนแล้ว มีอาการไตวายและเสียชีวิตนั้น ทำให้คุณแม่หลายคนแอบหวั่นใจ เกรงว่าการไปฉีดวัคซีนแต่ละเข็มจะเกิดการแพ้รุนแรงตามมาดังที่เป็นข่าว วันนี้คุณแม่มาทำความรู้จักกับอาการแพ้วัคซีนทั้งชนิดรุนแรงและแพ้น้อย หรืออาหชการข้างเคียงทั่วไปจากการฉีดวัคซีนกันค่ะ 

อาการแพ้วัคซีนเป็นอย่างไร 
อาการแพ้วัคซีนหรือ แพ้ส่วนประกอบในวัคซีนสามารถเกิดขึ้นได้ในวัคซีนทุกตัว แต่ไม่ได้เกิดกับทุกคน ส่วนใหญ่พบในเด็กที่แพ้ใข่ อาการแพ้วัคซีนที่ไม่รุนแรงมักแสดงอาการ คือ มีผื่นขึ้นเพียงเล็กน้อย สำหรับเด็กที่ผื่นลมพิษ ปากบวม หายใจรุนแรง ความดันดลหิตต่ำ เป็นอาการแพ้วัคซีนที่ต้องเฝ้าระวัง!!! แพทย์จะทำการบันทึกประวัติการแพ้ดังกล่าวไว้ เพื่อประกอบการพิจรณาในการฉีดวัคซีนครั้งต่อๆไปของลูกน้อย

อาการแพ้วัคซีนรุนแรงล่ะ เป็นอย่างไร
อาการแพ้วัคซีนรุนแรง เกิดขึ้นได้น้อยมากๆ อาการแพ้วัคซีนรุนแรงจะเกิดขึ้นทันทีทันใด หลังฉีดวัคซีนชนิดนั้นๆเพียงคุณพ่อคุณแม่ควรเฝ้าสังเกตอาการ 30 นาทีค่ะ 

6ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีน 
คุณแม่อาจสังเกตพบอาการต่าง ๆ ของลูกน้อย หลังจากรับการฉีดวัคซีน เช่น มีผื่น บวม แดง บริเวณที่ฉีดวัคซีน หรือตัวร้อน เป็นไข้ร้องไห้โยเยผิดปกติ อาการเหล่านี้ทำให้ลูกรู้สึกไม่สบายเนื้อสบายตัวในระยะเวลาสั้น ๆอาการแสดงดังกล่าว ไม่เป็นอันตรายรุนแรง แต่ก็ต้องได้รับการดูแลที่เหมาะสม ถูกวิธี คุณพ่อคุณแม่จะมีวิธีการรับมืออย่างไรนั้น มาดูกันค่ะ

1.มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง
หลังจากการฉีดวัคซีนผื่นจะค่อย ๆ ขึ้นและหายไปเอง จึงไม่จำเป็นต้องใช้ยาทา เพราะการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อโรค เช่น วัคซีนหัด หัดเยอรมัน คางทูม และอีสุกอีใส อาจทำให้เกิดอาการแพ้ ส่วนประกอบในวัคซีนหรือเชื้อที่อยู่ในวัคซีนโดยตรงทำให้เกิดผื่นคล้ายการติดโรคได้ข้อแนะนำคือ ให้ลูกสวมเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี เพื่อความสบายตัว หากผื่นที่ขึ้นไม่หายเป็นนานอาจไม่ใช่สาเหตุจากการฉีดวัคซีนควรพาลูกไปพบคุณหมอ เพราะอาการมักหายไปเองภายใน 2-3 วันค่ะ

2.ปวด บวม แดงบริเวณที่ฉีด
หากลูกมีอาการบวมหรือแสดงอาการปวด (ร้องโยเยมาก) ให้คุณแม่ประคบด้วยน้ำแข็งบรรเทาอาการปวด ทั้งนี้อาการดังกล่าวสามารถหายไปภายใน 1-3 วัน แต่หากบริเวณที่บวมแดง เป็นไตหรือเป็นแผล คุณแม่ลองสังเกตว่า ลูกขยับแขนข้างที่ฉีดวัคซีนได้น้อยลงหรือไม่ขยับแขน อาการเช่นนี้อาจเกิดการติดเชื้อจนเป็นตุ่มหนอง ต้องพาลูกน้อยไปพบคุณหมอค่ะ

3.มีไข้
ใช้ผ้าชุบน้ำสะอาดพอหมาด ๆ เช็ดตัวลดไข้ บริเวณซอกคอ ข้อพับต่าง ๆ เพื่อลดอุณหภูมิในร่างกาย อาการไข้ก็จะดีขึ้นและหายไปภายใน 2-3 วัน ถ้าไข้ยังสูง ไม่ยอมลด อาจให้ยาลดไข้ตามที่คุณหมอแนะนำ

4.ร้องไห้ โยเย งอแง
เวลาที่เจ้าตัวเล็กงอแง ร้องไห้ อย่าเพิ่งร้อนใจไปค่ะ คุณแม่ต้องใจเย็น ใช้วิธีปลอบโยนลูก เช่น เบี่ยงเบนความสนใจด้วยการพาไปเดินเล่น ร้องเพลง หรือเปิดเพลงให้ลูกฟัง เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดี การโอบกอดอุ้มลูกโยกตัวไปมาเบา ๆ เพื่อช่วยสร้างความอบอุ่น สบายใจ ให้ลูกน้อยหายจากอาการโยเยค่ะ

5.ชัก
ถ้าลูกมีไข้สูงมาก ๆ อาจทำให้เกิดอาการชัก เพื่อป้องกันผลเสียที่จะตามมา นอกจากต้องตั้งสติให้ดีเป็นอันดับแรกแล้ว คุณแม่ควรปฏิบัติดังนี้

จับลูกนอนตะแคงหน้า เพื่อป้องกันการสำลักหรือลิ้นไปอุดทางเดินหายใจ
ไม่นำของแข็ง เช่น นิ้วมือ ช้อน ฯลฯ ใส่ปากลูก เพราะจะทำให้สำลักมากขึ้น และรีบพาลูกไปพบคุณหมอทันที
ระหว่างเดินทางถ้าลูกมีไข้ ตัวร้อน ควรเช็ดตัวเพื่อลดความร้อนให้มากที่สุด

6. มีฝีขึ้นบริเวณที่ฉีด

มีลักษณะเป็น ๆ ยุบ ๆ อยู่ประมาณ 3-4 สัปดาห์ ก็จะหายไปไม่จำเป็นต้องใส่ยา หรือทายาปิดแผลค่ะ หากฝีเกิดแตกเอง คุณแม่สามารถใช้แอลกอฮอล์ทำความสะอาดทาเช้า-เย็น จนกว่าฝีจะแห้ง และควรระวังไม่บีบ ไม่กด หรือทำอะไรกับฝีที่ขึ้นเด็ดขาด เพราะอาจเกิดการติดเชื้อ หากเกิดติดเชื้อ ฝีอักเสบ ต้องรีบไปพบคุณหมอทันที

นอกจากนี้ พบว่าคุณแม่หลายๆแอบให้ลูกกินยาลดไข้ก่อนฉีดวัคซีน กรณีดังกล่าว พญ.อัมพร สันติงามกุล ไม่แนะนำให้กินยาลดไข้ดักทันทีหลังรับวัคซีนโดยที่เด็กยังไม่มีไข้ เพราะมีการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มเด็กที่กินยาดัก กับกลุ่มที่ไม่ได้กินยาดัก พบว่ากลุ่มหลังภูมิคุ้มกันขึ้นได้ดีกว่า แต่ถ้าเด็กชักเพราะไข้ขึ้นสูง ให้จับเด็กนอนตะแคงหน้าเพื่อไม่ให้ลิ้นไปอุดทางเดินหายใจ และไม่ควรนำสิ่งใดงัดหรือใส่ในปากขณะเด็กกำลังชักเกร็ง เนื่องจากอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บในช่องปากหรือฟันหักหลุดเข้าไปอุดหลอดลมซึ่งจะเป็นอันตราย แต่ควรเช็ดตัวลดความร้อนให้มากที่สุดโดยใช้น้ำที่อุณหภูมิห้องเช็ดเน้นตามซอกคอ ข้อพับต่างๆ ถ้าอาการไม่ดีขึ้นควรนำส่งโรงพยาบาลทันที

คุณแม่แชร์! ลูก 2 เดือน โดนย่าป้อนกล้วย ปวดท้อง อึไม่ออก

คุณแม่แชร์! ลูก 2 เดือน โดนย่าป้อนกล้วย ปวดท้อง อึไม่ออก โทษตัวเองไม่กล้าห้ามแม่สามี 😔 ป้อนกล้วยเด็กเล็ก ปัญหาโลกแตก ที่ยากต่อการทำความเ...